พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๗๐ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคําหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการสั่งตามมาตรา ๑๔ หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือเรียก ตามมาตรา ๕๔ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่ เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐/๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗๑ ผู้ ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ วรรคห้ามาตรา ๔๑หรือมาตรา ๔๓ วรรคสองต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้ าหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือไม่ ปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง หรือตามมาตรา ๒๓ วรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่ เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ต้ องระวางโทษจําคุกไม่ เกินสองปีหรือปรับไม่ เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗๔ ผู้ ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่ เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําโดยประมาทของผู้ นําเข้า ผู้ ส่ งออกหรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายดังกล่ าว ผู้ กระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกินแปดแสนบาท

มาตรา ๗๔/๑ ผู้ใช้ หรือผู้ สนับสนุนในการกระทําความผิดซึ่งมีโทษตามมาตรา๗๓ หรือมาตรา ๗๔ ในส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๓ หรือชนิดที่ ๔ ซึ่งเป็ นสารเคมีพิษหรือสารที่ใช้ ผลิตสารเคมีพิษที่ระบุในอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมีตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น

มาตรา ๗๔/๒ การกระทําความผิดตามมาตรา ๗๓ หรือมาตรา ๗๔ ในส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๓ หรือชนิดที่ ๔ ซึ่งเป็ นสารเคมีพิษหรือสารที่ใช้ผลิตสารเคมีพิษที่ระบุในอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมีตามประกาศของรัฐมนตรีว่ าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมาตรา๑๘ หากผู้กระทําความผิดมีสัญชาติไทย แม้จะกระทํานอกราชอาณาจักรจะต้ องรับโทษในราชอาณาจักร

ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะการกระทํานั้นอีกถ้า

(๑) ได้มีคําพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้นหรือ

(๒) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษและผู้นั้นได้พ้นโทษแล้วถ้าผู้ต้องคําพิพากษาได้รับโทษสําหรับการกระทํานั้นตามคําพิพากษาของศาลในต่ างประเทศมาแล้ วแต่ ยังไม่ พ้ นโทษ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได ทั้งนี้โดยคํานึงถึงโทษที่ผู้ นั้นได้รับมาแล้ ว

มาตรา ๗๕ ผู้ ใดฝ่ าฝืนมาตรา ๔๕ (๑) หรือมาตรา ๔๕ (๕) สําหรับกรณีเพิกถอนทะเบียนเพราะอาจเกิดอันตรายโดยไม่มีวิธีปกติตามควรที่จะป้ องกันได้ ถ้ าเป็ นการกระทําเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๓ ผู้กระทําต้ องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่ เกินเจ็ดแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็ นการกระทําโดยประมาทของผู้ นําเข้ า ผู้ส่ งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายดังกล่าว ผู้ กระทําต้ องระวางโทษปรับไม่เกินห้ าแสนบาท

มาตรา ๗๖ ผู้ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๔๕ (๒) หรือมาตรา ๔๕ (๕) สําหรับกรณีเพิกถอนทะเบียนเพราะไม่ มีประโยชน์ ตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ถ้าเป็นการกระทําเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๓ ผู้กระทําต้ องระวางโทษจําคุกไม่ เกินห้ าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําโดยประมาทของผู้ นําเข้ า ผู้ส่งออกหรือผู้ มีไว้ ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายดังกล่ าว ผู้ กระทําต้ องระวางโทษปรับไม่ เกินสี่แสนบาท

มาตรา ๗๗ ผู้ ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๔๕ (๓) ถ้าเป็นการกระทําเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่ เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําโดยประมาท ผู้ กระทําต้ องระวางโทษปรับไม่ เกินแปดหมื่นบาท

มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๔๕ (๔) ถ้าเป็นการกระทําเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗๙ ถ้ าการกระทําตามมาตรา ๗๕ มาตรา ๗๖ มาตรา ๗๗ หรือมาตรา๗๘ เกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๒ ผู้กระทําต้องระวางโทษสองในสามของโทษที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว

มาตรา ๘๐ ถ้าการกระทําตามมาตรา ๗๕ มาตรา ๗๖ มาตรา ๗๗ หรือมาตรา๗๘ เกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๑ ผู้ กระทําต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่ าว

มาตรา ๘๑ ผู้ ได้รับใบอนุญาตผู้ ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ต้ องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๘๒ ผู้ใดโดยเจตนาก่ อให้ เกิดความเข้ าใจผิดในแหล่งกําเนิด สภาพคุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสําคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับวัตถุอันตรายไม่ว่ าจะเป็นของตนเองหรือผู้ อื่น ทํา หรือใช้ ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความที่รู้ หรือควรรู้อยู่ แล้ วว่ าอาจก่ อให้ เกิดความเข้าใจผิดเช่ นว่ านั้น ต้องระวางโทษจําคุกไม่ เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ถ้าผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งกระทําผิดซ้ำอีกภายในหกเดือนนับแต่วันกระทําความผิดครั้งก่ อน ผู้ กระทํา   ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๘๓ ผู้ใดขายวัตถุอันตรายโดยไม่ มีฉลากหรือมีฉลากแต่ ฉลากหรือการแสดงฉลากไม่ ถูกต้ อง หรือขายวัตถุอันตรายที่มีฉลากที่คณะกรรมการสั่งเลิกใช้ หรือให้ แก้ไขตามมาตรา ๕๐ ต้องระวางโทษจําคุกไม่ เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห ้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็ นการกระทําโดยประมาท ผู้ กระทําต้องระวางโทษปรับไม่ เกินสี่หมื่นบาท

ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็ นการกระทําของผู้ ผลิตหรือผู้นําเข้ าผู้ กระทําต้ องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่ เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๘๔ ผู้ใดโดยเจตนาหรือโดยประมาทรับจ้ างทําฉลากที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือรับจ้ างติดตรึงฉลากที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือรับจ้ างทําลายส่ วนอันเป็ นสาระสําคัญของฉลากที่ถูกต้องตามกฎหมายสําหรับวัตถุอันตราย อย่ างหนึ่งอย่างใดตามความในหมวด ๒ ต้ องระวางโทษจําคุกไม่ เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๘๕ ผู้ใดไม่ ปฏิบัติตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่ เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๘๕/๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕๒/๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่ เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๘๖ ผู้ ใดไม่ อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้ าหน้ าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๕๔ ต้ องระวางโทษจําคุกไม่ เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่ เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๘๗ ในกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษบุคคลใดในความผิดตามมาตรา ๗๑หรือมาตรา ๗๒ และเป็นกรณีที่มีการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต ถ้ามีพฤติการณ์ ให้ เห็นว่าบุคคลดังกล่ าวอาจจะกระทําความผิดเช่ นนั้นอีก ศาลจะสั่งไว้ในคําพิพากษาห้ามการประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายมีกําหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นโทษไปแล้วก็ได้

มาตรา ๘๗/๑ ผู้ใดเคยถูกลงโทษเพราะเหตุกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้แล้วครั้งหนึ่ง ถ้าได้กระทําผิดในบทบัญญัติเดียวกันกับที่เคยถูกลงโทษแล้วนั้นซ้ำอีก ให้ศาลเพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นอีกกึ่งหนึ่งของอัตราโทษสําหรับความผิดนั้น

มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่นิติบุคคลกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้กรรมการ ผู้จัดการหรือผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะหรือบุคคลใดซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการกระทําความผิดนั้น ต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ ว่าการกระทํานั้นได้กระทําโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย

มาตรา ๘๘ วัตถุอันตรายที่ผลิต นําเข้าส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้ภาชนะของวัตถุอันตรายดังกล่าว เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้ องหรือทรัพย์สินใดบรรดาที่ศาลมีคําพิพากษาให้ริบ ให้ส่งมอบแก่หน่ วยงานที่รับผิดชอบควบคุมวัตถุอันตรายดังกล่าวเพื่อทําลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรต่อไป

ในกรณีที่ต้องทําลายให้ศาลมีคําสั่งในคําพิพากษาให้เจ้าของชําระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้แก่ ทางราชการด้วย

มาตรา ๘๙ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือมีโทษปรับสถานเดียวให้ คณะกรรมการมีอํานาจเปรียบเทียบได้ และเมื่อผู้กระทําความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้กระทําความผิดได้รับแจ้งให้ถือว่ าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ มีอํานาจเปรียบเทียบก็ได้ ทั้งนี้การเปรียบเทียบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด

ในกรณีที่มีการยึดหรืออายัดของกลางที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ผู้อํานาจเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองจะเปรียบเทียบได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)ในกรณีที่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เมื่อผู้กระทําความผิดยินยอมและได้ แก้ไขของกลางที่ยึดหรืออายัดไว้ให้ถูกต้อง

(๒) ในกรณีที่ไม่อาจแก้ไขให้ ถูกต้องได้เมื่อผู้กระทําความผิดยินยอมให้ ของกลางที่ยึดหรืออายัดไว้ ตกเป็นของ  หน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุมวัตถุอันตรายดังกล่าว

ในกรณีที่ผู้ยินยอมให้เปรียบเทียบได้แก้ไขของกลางให้ถูกต้องแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ถอนการอายัดของกลางนั้นเสียบรรดาสิ่งของที่ตกเป็นของหน่ วยงานที่รับผิดชอบควบคุมวัตถุอันตรายดังกล่าวให้จัดการตามระเบียบที่รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกําหนด

บทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง
พระราชบัญญัติยา
พระราชบัญญัติอาหาร
พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย

ในปัจจุบัน ใบอนุญาตในการดำเนินการทางธุรกิจต่างๆนั้นมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจนั้นๆว่าอยู่ในรูปแบบใด ดังนั้น การดำเนินการขอใบอนุญาตจะต้องขอตามประเภทที่ทางองค์การอาหารและยาเป็นผู้กำหนดให้ โดยมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันตามแต่ละหมวด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดยา
2.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดอาหาร
3.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องสำอาง
4.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องมือแพทย์
5.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดวัตถุอันตราย

fightingfly2 บริษัท รับจด อย. ชั้นนำของประเทศ รับจด อย เน้นคุณภาพเรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ ได้ใบอนุญาต รวดเร็วทันใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทันนำเข้า ผลิต ขาย ลดความเสี่ยงทางภาษีและมีกลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
ติดต่อเรา
46/5 ซ.งามวงศ์วาน 6 แยก 21 ต.บางเขน อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
โทร. 02-108-7473 (คุณนัชชา ฝ่ายบุคคล)
แฟกซ์ : 02-1087473 อีเมล : nutcha@fightingfly2.com
เวลาทำการ บริษัทฯ เปิดทำการเวลา 08.00 ถึง 17.00น
COPYRIGHT © 2017 FIGHTINGFLY2. ALL RIGHTS RESERVED.