พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๔๕ เมื่อปรากฏว่าเครื่องสำอางใดที่ผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขายหรือขาย ที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๓ หรือมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ หรือมาตรา ๓๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหรืออายัดไว้เพื่อดำเนินคดีต่อไป

สำหรับเครื่องสำอางตามวรรคหนึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นำเข้าเพื่อขาย ผู้ขายหรือผู้ครอบครอง จัดเก็บและทำลายเครื่องสำอางนั้นหรือส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดก็ได้ของที่ยึดหรืออายัดไว้ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้โต้แย้งและขอรับคืนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ยึดหรืออายัด ให้เครื่องสำอางนั้นตกเป็นของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อจัดการตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

มาตรา ๔๖ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสาร หรือวัตถุตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการสั่งตามมาตรา ๑๒ หรือตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งตามมาตรา ๓๙ (๔) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๔๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับผู้ใดได้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งซ้ำอีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันที่กระทำความผิดครั้งที่แล้ว ผู้นั้นต้องระวางโทษสองเท่าของโทษที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๔๘ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๑๔ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๐ ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางควบคุมพิเศษที่ถูกสั่งเพิกถอนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๗ วรรคสอง มาใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

มาตรา ๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๗ วรรคสอง มาใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

มาตรา ๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๔๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำโดยประมาท ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๗ วรรคสอง มาใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

มาตรา ๕๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเลขาธิการตามมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๖ ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น ใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งกระทำผิดซ้ำอีกภายในหกเดือน นับแต่วันกระทำความผิดครั้งก่อน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๗ ผู้ใดขายเครื่องสำอางที่มีการควบคุมฉลาก โดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากนั้นไม่ถูกต้อง หรือขายเครื่องสำอางที่มีฉลากที่คณะกรรมการสั่งเลิกใช้ตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำโดยประมาท ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของผู้ผลิตเพื่อขายหรือผู้นำเข้าเพื่อขายเครื่องสำอางที่มีการควบคุมฉลาก ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๘ ผู้ใดรับจ้างทำฉลากที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือรับจ้างติดตรึงฉลากที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายกับเครื่องสำอางที่มีการควบคุมฉลากโดยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๕๙ ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือขายเครื่องสำอางที่มีลักษณะตามมาตรา ๓๓ (๑) หรือ (๒) หรือมาตรา ๓๔ (๑) หรือ (๒) อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับผู้ใดผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือขายเครื่องสำอางที่มีลักษณะตามมาตรา ๓๓ (๓) หรือ (๔) หรือมาตรา ๓๔ (๓) หรือ (๔) อันเป็นการฝ่าฝืน

มาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการนำเข้าเพื่อขายเครื่องสำอางตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เป็นการกระทำโดยประมาท ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทถ้าการขายเครื่องสำอางตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เป็นการกระทำโดยประมาท ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๖๐ ผู้ใดผลิตเพื่อขายหรือนำเข้าเพื่อขายเครื่องสำอางที่มีลักษณะตามมาตรา ๓๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ถ้าการนำเข้าเพื่อขายตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำโดยประมาท ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา ๖๑ ผู้ใดขายเครื่องสำอางที่มีลักษณะตามมาตรา ๓๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำโดยประมาท ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาท

มาตรา ๖๒ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖๓ บรรดาเครื่องสำอางที่ผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือขายที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๓ หรือมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๑ มาตรา ๓๓
มาตรา ๓๔ หรือมาตรา ๓๕ รวมทั้งภาชนะบรรจุ ฉลาก และอุปกรณ์สำหรับใช้กับเครื่องสำอางดังกล่าว ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่และของที่ริบให้ส่งมอบแก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อจัดการตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษบุคคลใดในความผิดตามมาตรา ๔๗ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ถ้ามีพฤติการณ์ให้เห็นว่าบุคคลดังกล่าวอาจจะกระทำความผิดเช่นนั้นขึ้นอีก ศาลจะสั่งไว้ในคำพิพากษาห้ามการประกอบการผลิต หรือนำเข้าหรือขายมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปี นับแต่วันพ้นโทษไปแล้วก็ได้

มาตรา ๖๕ บรรดาความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้

ในกรณีที่มีการยึดหรืออายัดของกลางที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับตามวรรคหนึ่ง จะเปรียบเทียบปรับได้ต่อเมื่อ
(๑) ในกรณีที่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมและได้แก้ไขของกลางที่ยึดหรืออายัดไว้ให้ถูกต้องแล้ว
(๒) ในกรณีที่ไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมให้ของกลางที่ยึดหรืออายัดไว้ตกเป็นของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ในกรณีที่ผู้ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ ได้แก้ไขของกลางถูกต้องแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ถอนการยึดหรืออายัดของกลางนั้นเสียบรรดาสิ่งของที่ตกเป็นของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้จัดการตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

++ขอ อย.เครื่องสำอาง ให้ถูกกฎหมาย ไม่ต้องกังวลถูกดำเนินคดี++สำนักบัญชี มีบริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายแก่เจ้าของกิจการ เพื่อนำประสบการณ์ของเราถ่ายทอดให้แก่ท่านเพื่อความสำเร็จในธุรกิจของท่าน ติดต่อ 02-009-1899 , 02-108-7473

บทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง
พระราชบัญญัติยา
พระราชบัญญัติอาหาร
พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย

ในปัจจุบัน ใบอนุญาตในการดำเนินการทางธุรกิจต่างๆนั้นมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจนั้นๆว่าอยู่ในรูปแบบใด ดังนั้น การดำเนินการขอใบอนุญาตจะต้องขอตามประเภทที่ทางองค์การอาหารและยาเป็นผู้กำหนดให้ โดยมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันตามแต่ละหมวด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดยา
2.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดอาหาร
3.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องสำอาง
4.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องมือแพทย์
5.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดวัตถุอันตราย

fightingfly2 บริษัท รับจด อย. ชั้นนำของประเทศ รับจด อย เน้นคุณภาพเรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ ได้ใบอนุญาต รวดเร็วทันใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทันนำเข้า ผลิต ขาย ลดความเสี่ยงทางภาษีและมีกลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
ติดต่อเรา
46/5 ซ.งามวงศ์วาน 6 แยก 21 ต.บางเขน อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
โทร. 02-108-7473 (คุณนัชชา ฝ่ายบุคคล)
แฟกซ์ : 02-1087473 อีเมล : nutcha@fightingfly2.com
เวลาทำการ บริษัทฯ เปิดทำการเวลา 08.00 ถึง 17.00น
COPYRIGHT © 2017 FIGHTINGFLY2. ALL RIGHTS RESERVED.