พระราชบัญญัติอาหาร

พระราชบัญญัติอาหาร
บทกำหนดโทษ
มาตรา 47 ผูู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(4)(5) หรือ (9) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 48 ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(6) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 49 ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(7) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา 50 ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(8) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสองปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท

มาตรา 51 ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(10) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท

มาตรา 52 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการตามมาตรา 13 หรือขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา 43 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 53 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 14 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 54 ผู้ใดผลิตหรือนําเข้าซึ่งอาหารเฉพาะคราวโดยมิได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16(1) หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 16 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา 55 ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 20 หรือมาตรา 21 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา 56 ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 22 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา 57 ผู้รับอนุญาตผู้ใดนําอาหารควบคุมเฉพาะที่ผลิตขึ้นเพื่อส่งออกไปจําหน่ายนอกราชอาณาจักรมาจําหน่ายในราชอาณาจักร อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินสามหมื่นบาท

มาตรา 58 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา  25(1) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 60 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา  25(3) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา 61 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา  25(4) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 63  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตซึ่งสั่งตามมาตรา  30(2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว

มาตรา 64 ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 65 ผู้ใดจําหน่ายอาหารควบคุมเฉพาะที่มิได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา 66 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 34 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 67 ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 36 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 68 ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตซึ่งสั่งตามมาตรา 38 ต้องระวางโทษปรับเป็นรายวันวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว

มาตรา 69 ผู้ใดผลิต นําเข้าเพื่อจําหน่าย หรือจําหน่าย อาหารที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตํารับอาหารตามมาตรา 39ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 70 ผู้ใดโฆษณาอาหารโดยฝ่าฝืนมาตรา  40 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 71 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา  41 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา 73 ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 48 มาตรา 50 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 60 มาตรา 61 หรือมาตรา 69 เป็นการกระทําความผิดโดยจําหน่ายปลีกให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง ผู้กระทําความผิดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่ถ้าผู้นั้นกระทําความผิดอีกภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้กระทําความผิดครั้งก่อน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 74 ผู้รับอนุญาตผู้ใดผลิตหรือนําเข้าซึ่งอาหารภายหลังที่ใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว โดยมิได้ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับเป็นรายวันวันละไม่น้อยกว่าห้าร้อยบาทแต่ไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ใบอนุญาตขาดอายุ

มาตรา 75 บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มีโทษปรับสถานเดียว ให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบปรับได้

บทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง
พระราชบัญญัติยา
พระราชบัญญัติอาหาร
พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย

ในปัจจุบัน ใบอนุญาตในการดำเนินการทางธุรกิจต่างๆนั้นมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจนั้นๆว่าอยู่ในรูปแบบใด ดังนั้น การดำเนินการขอใบอนุญาตจะต้องขอตามประเภทที่ทางองค์การอาหารและยาเป็นผู้กำหนดให้ โดยมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันตามแต่ละหมวด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดยา
2.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดอาหาร
3.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องสำอาง
4.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องมือแพทย์
5.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดวัตถุอันตราย

fightingfly2 บริษัท รับจด อย. ชั้นนำของประเทศ รับจด อย เน้นคุณภาพเรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ ได้ใบอนุญาต รวดเร็วทันใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทันนำเข้า ผลิต ขาย ลดความเสี่ยงทางภาษีและมีกลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
CONTACT
46/5 Soi Ngamwongwan 6-21 T.Bangkhen
A.Muang Nonthaburi 11000
Tel : 02-108-7473, 099-619-7483, 02-009-1899, 091-770-7776
Fax : 02-108-7473 E-Mail : suree@fightingfly2.com
COPYRIGHT © 2017 FIGHTINGFLY2. ALL RIGHTS RESERVED.